ข้อความวิ่ง

Welcome To My Webblog..^^ ยินดีต้อนรับทุกท่าน เข้าสู่ เว็บบล็อก นะครับ

บทที่ 4 การสื่อสารข้อมูลบนระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

1. สื่อกลางประเภทมีสายแต่ละประเภท มีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้าง จงเปรียบเทียบ

สายคู่บิดเกลียว (Twisted - Pair Cable)

สายคู่บิดเกลียวประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวน พลาสติก หลังจากนั้นก็นำสายทั้งสองมาถักกันเป็นเกลียวคู่ เช่น สายคู่บิดเกลียวที่ใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น (CATS) การนำสายมาถักเป็นเกลียวเพื่อช่วยเพื่อช่วยลดการแทรกแซงจากสัญญาณรบกวนสายคู่บิดเกลียวมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์และแบบมีชิลด์

สายคู่บิดเกลียวแบบไม่มีชีลด์ (Unshielded Twisted - Pair Cable : UTP)

นิยมใช้งานมากในปัจจุบันมีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์บ้านไม่มีการหุ้มฉนวนมีแต่การบิดเกลียวอย่างเดียว สายคู่บิดเกลียวแบบมีชีลด์ (Shielded Twisted - Pair Calbe : STP) สำหรับสาย STP คล้ายกับสาย UTP แต่สาย STP  จะมีชีลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่ง ทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีกว่าสาย UTP
ข้อดี
  • ราคาถูก
  • มีน้ำหนักเบา
  • ง่ายต่อการใช้งาน
ข้อเสีย
  • มีความเร็วจำกัด
  • ใช้กับระยะทางสั้นๆ
 

 

สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)
 
สายมักทำด้วยทองแดงอยู่แกนกลาง ซึ่งสายทองแดงจะถูกห่อหุ้มด้วยพลาสติก จากนั้นก็จะมีชิลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และ หุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่งป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี สายโคแอกเชียลที่เห็นได้ทั่วๆไป คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศทีวีที่ใช้ตามบ้าน
ข้อดี
  • เชื่อมต่อได้ในระยะไกล
  • ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
  • มีราคาแพง
  • สายมีขนาดใหญ่
  • ติดตั้งยาก
สายไฟเบอร์ออปติค (Optical Fiber)
สายไฟเบอร์ออปติคหรือสายใยแก้นำแสง เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอกในตัวขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็ก
สายไฟเบอร์ออปติค แบ่งเป็น  3 ชนิด
  • Multimode step - index fiber จะสะท้อนแบบหักมุม
  • Multimode graded - index มีลักษณะคล้ายคลื่น
  • Single mode fiber เป็นแนวตรง
ข้อดี
  • มีขนาดเล็กน้ำหนักเบา
  • มีความปลอดภัยในการส่งข้อมูล
  • มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
  • เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
  • มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิบทั่วไป
  • การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ



 


ที่มา : http://student.nu.ac.th

2.การนำระบบเครื่อข่ายมาใช้ในองค์กร มีประโยชน์อย่างไร

องค์กร หมายถึง  บุคคลกลุ่มหนึ่งที่มารวมตัวกัน โดยมีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างร่วมกัน และดำเนินกิจกรรมบางอย่างร่วมกันอย่างมีขั้นตอนเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์นั้น โดยมีทั้ง องค์กรที่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อการแข่งขันทางเศรษฐกิจ เช่น บริษัท ห้างหุ้นส่วน ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่างๆ และ องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร คือองค์กรที่ดำเนินกิจกรรมเพื่อสาธารณประโยชน์เป็นหลัก เช่น สมาคม สถาบัน มูลนิธิ เป็นต้น
บทบาทขององค์กรที่มีต่อระบบสารสนเทศ
องค์กรมีผลต่อระบบสารสนเทศในหลายด้านพอสรุปได้ดังนี้คือ
1.การตัดสินใจเรื่องบทบาทของระบบสารสนเทศและการนำระบบสารสนเทศมาใช้ กล่าวคือ องค์กรจะต้องทำการพิจารณาว่าจะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดความได้เปรียบทางการแข่งขัน หรือจะนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้แทนพนักงานเท่านั้น หรือที่เรียกว่า Automation หากองค์กรให้ความสำคัญต่อระบบสารสนเทศในการเป็นทรัพยากรที่ใช้ในการแข่งขัน องค์กรอาจจะต้องมีการจัดเตรียมงบประมาณในการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้มากขึ้น เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการทำงานของระบบให้ดีขึ้นเรื่อยๆ
2.การตัดสินใจว่าจะพัฒนาระบบสารสนเทศอย่างไร ได้แก่ การตัดสินใจที่จะพัฒนาระบบสารสนเทศด้วยหน่วยงานภายใน หรือจะจ้างหน่วยงานภายนอกมาทำการพัฒนาที่เรียกว่า Outsourcing หากองค์กรจะทำการพัฒนาด้วยตัวเอง องค์กรจะต้องมีหน่วยงานทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศภายในที่มีความรู้ ความสามารถเพียงพอในการจะดำเนินการดังกล่าวได้
3. การตัดสินใจเกี่ยวกับการจัดตั้งหน่วยงานสารสนเทศ ได้แก่ การตัดสินใจที่จะมีหน่วยงานสารสนเทศภายในแบบใด เช่น เป็นเพียงหน่วยงานสนับสนุนการบำรุงรักษาระบบสารสนเทศเท่านั้น หรือจะเป็นหน่วยงานสารสนเทศหลักในการพัฒนาระบบด้วยตัวเอง
4. การตัดสินใจว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่ต้องคำนึงถึงในการพัฒนาระบบสารสนเทศ เช่น จะต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานหรือไม่เพื่อรองรับการนำระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ใน
องค์กร และปรับปรุงอย่างไร เป็นต้น
การนำระบบสนเทศมาใช้ในองค์กร ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กรมากมาย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ทำให้ผู้บริหารมีสารสนเทศ(Information)มาช่วยในการตัดสินใจ การวิเคราะห์ การจัดการ และการควบคุมที่ดีขึ้น
2.ทำให้ผู้บริหารสามารถจัดการการงานที่มีประสิทธิภาพขึ้น ด้วยการเสริมทางด้านการติดต่อสื่อสารที่สะดวกรวดเร็ว
3.ทรัพยากรสารสนเทศมีความสำคัญมากขึ้น และถือเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรเช่นเดียวกับทรัพยากรด้านอื่นๆ ดังนั้นการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อหรือหรือหามาซึ่งทรัพยากรสารสนเทศถือเป็นส่วนหนึ่งของแผนกลยุทธ์ของ

องค์กร
4.ผู้บริหารทุกคนถือว่ามีส่วนสำคัญในการจัดการ และการใช้ประโยชน์ของทรัพยากรสารสนเทศ
5. ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง วัฒนธรรม และอิทธิพลทางการเมืองในองค์กรหน่วยงานสารสนเทศหรือหน่วยงานทีมีส่วนในการเก็บรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลจะมีความสำคัญมากขึ้นในองค์กร
ระบบสารสนเทศที่นำไปใช้ในองค์กร ในปัจจุบันนั้นที่สำคัญมี 3 อย่าง คือ
1.นำไปใช้ในการประมวลผลรายการ และการจัดทำรายงาน
2.นำไปใช้ในการช่วยการตัดสินใจ
3.นำไปใช้ในการช่วยการติดต่อสื่อสาร
การนำระบบสารสนเทศไปใช้ส่งเสริมธุรกิจที่เป็นธุรกิจหลัก
ธุรกิจหลัก (Core Competencies) คือ ธุรกิจที่องค์กรมีความชำนาญมากที่สุด เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์มีการทำธุรกิจมากมาย แต่ธุรกิจที่ถือว่าเป็นธุรกิจหลักของกิจการก็คือ การผลิตด้านสัตว์และอาหารสัตว์ หรือ กรณีบริษัท Federal Express ที่มีความชำนาญในการทำธุรกิจการจัดส่งพัสดุมากที่สุด เป็นต้น
การนำระบบสารสนเทศมาใช้ส่งเสริมธุรกิจหลัก ได้แก่ การรวมศูนย์ข้อมูลเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่ทำเกี่ยวกับธุรกิจหลัก หรือการลงทุนในเทคโนโลยีหรือระบบที่จะทำให้การทำธุรกิจหลักมีประสิทธิภาพมากขึ้น
2.การนำเทคโนโลยีหรือระบบสารสนเทศหรือระบบสารสนเทศไปใช้ในการเชื่อมโยงหน่วยงานต่างๆภาย
ในองค์กร ได้แก่ การนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการติดต่อสื่อสารหรืประสานงานระหว่างหน่วยงาน เช่น ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ กรุ๊ปแวร์ (Groupware) เป็นต้น เพื่อให้การติดต่องานที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น และเป็นการเชื่อมโยงหน่วยงานที่อยู่ห่างไกลกันให้มีการประสานงานที่ดีขึ้น
ตัวอย่าง ของการนำสารสนเทศมาใช้ในองค์กร
           UPS แข่งขันไปทั่วโลกด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
บริษัท United Parcel Service หรือ UPS ซึ่งเป็นบริษัทใหญ่อันดับหนึ่งของโลกในด้านการจัดส่งพัสดุทางบก ทำการก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2450 และยังคงเป็นบริษัทอันดับหนึ่งในปัจจุบันจากการที่ไม่เคยหยุดอยู่กับการพัฒนาบริการให้ดีขึ้น
           UPS ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่เรียกว่า Hand-held Computer การบันทึกข้อมูลลายเซ็นลูกค้าเวลาที่รับ หีบห่อและเวลาที่ส่ง หีบห่อ จากนั้นส่งผ่านข้อมูลโดยผ่าน ระบบเครือข่ายของโทรศัพท์ไร้สาย หรือ Cellular Telephone Network ภายในรถไปยังคอมพิวเตอร์หลักของบริษัทที่
ตั้งอยู่ทั่วโลกทำให้สามารถทราบได้ว่าพัสดุอยู่ที่ไหน
           ซึ่งระบบนี้จะใช้ บาร์โค้ด ( Bar Code ) เป็นตัวบันทึกข้อมูลหีบห่อที่รับและส่งเพื่อส่งผ่านข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ทำให้ฝ่ายขายสามารถตอบคำถามลูกค้าเกี่ยวกับพัสดุได้รวมทั้งลูกค้าของ UPS สามารถเข้าไปตรวจสอบข้อมูลเหล่านี้ได้เองทางเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือ
 ( WWW ) หรือการใช้ซอฟต์แวร์พิเศษของ UPS รวมทั้งลูกค้าสามารถเข้าไปใน WWW ตรวจสอบเส้นทางการขนส่ง คำนวณอัตราค่าส่งหีบห่อ และจัดตารางการรับ/ส่งหีบห่อได้และในอนาคตก็จะสามารถจ่ายค่าส่งทางอินเตอร์เน็ตได้
           นอกจากนี้ตั้งแต่ปี 2534 UPS ยังเสนอบริการใหม่ด้วยการส่งสินค้าภายใน 24 ชั่วโมง และบริษัทยังสามารถปรับเปลี่ยนเส้นทางหรือหยุดการส่งในระหว่างทางได้หากลูกค้าต้องการ

 
ที่มา : http://pirun.kps.ku.ac.th

3.หากนำระบบเครือข่ายมาใช้ในองค์กรนักศึกษาจะเลือกรูปแบบของระบบเครือข่าย (LAN Topology) แบบใด เพราะอะไร

 
เป็นรูปแบบหนึ่งของเครือข่ายแบบ server-based โดยจะมีคอมพิวเตอร์หลักเครื่องหนึ่งเป็น เซิร์ฟเวอร์ ซึ่งจะไม่ได้ทำหน้าที่ประมวลผลทั้งหมดให้เครื่องลูกข่าย หรือไคลเอนต์ (client) เซิร์ฟเวอร์ทำหน้าที่เสมือนเป็นที่เก็บข้อมูลระยะไกล (remote disk) และประมวลผลบางอย่างให้กับไคลเอนต์เท่านั้น เช่น ประมวลผลคำสั่งในการดึงข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูล (database server) เป็นต้น

ประสิทธิภาพ
เครือข่ายแบบ Client/Server นั้น เซิร์ฟเวอร์จะต้องทำงานบริการให้กับเครื่องไคลเอนต์ที่ร้องขอเข้ามา ซึ่งนับว่าเป็นงานประมวลผลที่หนักพอสมควร ดังนั้นเครื่องเซิร์ฟเวอร์ก็ควรจะเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทรงพลัง เพียงพอในการรองรับงานหนัก ๆ แบบนี้ในเครือข่าย

บริการ
อาจจะมีเซิร์ฟเวอร์อยู่หลายตัวในการทำงานเฉพาะด้าน เช่น ไฟล์เซอร์เวอร์ทำหน้าที่ในการจัดเก็บ และบริหารไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในเครือข่าย พรินต์เซิร์ฟเวอร์ ทำหน้าที่เกี่ยวกับการควบคุมการพิมพ์ทั้งหมดในเครือข่าย ดาต้าเบสเซอร์เวอร์จัดเก็บและบริหารฐานข้อมูลขององค์กร เป็นต้น

โปรแกรม
องค์กรที่ใช้เครือข่ายแบบนี้ มักมีการเก็บโปรแกรมไว้บนเซิร์ฟเวอร์ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าไปเรียกใช้ได้ทันที เช่น เซิร์ฟเวอร์เก็บโปรแกรมเวิร์ดโปรเซสเซอร์ไว้ เมื่อผู้ใช้ต้องการใช้โปรแกรมนี้ก็สามารถรันโปรแกรมนี้จากเซิร์ฟเวอร์ได้

ขนาด
เครือข่ายแบบ Client/Server สามารถรองรับเครือข่ายตั้งแต่ขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ แต่ที่เหมาะสมจะเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่

การบริหารระบบ
จะต้องมีเจ้าหน้าที่ในการบริหารระบบโดยเฉพาะ ซึ่งทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับงานพื้นฐานประจำวัน เช่น การสำรองข้อมูล การตรวจสอบระบบรักษาความปลอดภัย และการดูแลระบบให้ทำงานได้อย่างสม่ำเสมอ

ระบบรักษาความปลอดภัย
เครื่องเซิร์ฟเวอร์ส่วนใหญ่จะเปิดให้ทำงานตลอดเวลา และต้องมีการป้องกันไม่ให้ใครเข้ามาปรับเปลี่ยนระบบภายในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเป็นการป้องกันรักษาข้อมูล บริษัทส่วนใหญ่จึงมักจะเก็บเซิร์ฟเวอร์ไว้ในห้องที่แยกต่างหากและมีการปิดล็อคไว้เป็นอย่างดี

การขยายระบบ
เครือข่ายแบบ Client/Server ยืดหยุ่นต่อการเพิ่มเติมขยายระบบ การเพิ่มเครื่องไคลเอนต์ในเครือข่ายไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสเป็กสูง ราคาแพง โดยเครื่องที่มีสมรรถนะสูงนั้นเอาไว้ใช้เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์

การดูแลซ่อมแซม

ปัญหาที่เกิดขึ้นในเครือข่ายแบบนี้หาพบได้ไม่ยาก เช่น ถ้าเครื่องไคลเอนต์หลาย ๆ เครื่องทำงานไม่ได้ ปัญหาก็มักจะมาจากที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์ และถ้าเครื่องไคลเอนต์เครื่องใดมีปัญหาผู้บริหารระบบก็เพียงแก้ไขที่เครื่องนี้ ซึ่งจะไม่กระทบต่อเครื่องไคลเอนต์เครื่องอื่น
ที่มา : http://www.il.mahidol.ac.th


 
4.อินเทอร์เน็ตมีข้อดีต่อระบบการศึกษาไทยอย่างไร
           
สำหรับด้านการศึกษานั้น เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะช่วยเสริมสร้างคุณภาพและความเสมอภาคกันในหลายเรื่องดังนี้
1.ครู อาจารย์ผู้สอน สามารถพัฒนาคุณภาพบทเรียน หรือแนวคิดในสาขาวิชาที่สอนโดยการเรียกดูจาก สถาบันการศึกษาอื่น ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหาวิชาการคู่มือครู แบบฝึกหัด ซึ่งบางเรื่องสามารถคัดลอกนำมาใช้ได้ทันที เนื่องจากผู้ผลิต ผู้คิดเดิม แจ้งความจำนงให้เป็นของสาธารณะชนนำไปใช้ได้( Public Mode ) ในทางกลับกันครูอาจารย์ท่านใดมีแนวคิดวิธีการสอนคู่มือการสอนที่น่าสนใจสร้างความเข้าใจได้ดีกว่าผู้อื่น ก็สามารถนำเสนอเรื่องดังกล่าวในWeb Site ของสถาบันของตนเองเพื่อให้ผู้อื่นศึกษาใช้งานได้ส่วนหนึ่งของเรื่องดังกล่าวอาจจะทำเป็นโปรแกรมสำเร็จรูปหรืออยู่ในรูปCD-ROM ( Compact Disk Read - Only - Memory ) ซึ่งโดยทั่วๆไปเรียกกันว่าคอมพิวเตอร์ช่วยการเรียนการสอน(CAI) ซึ่งมีทั้งช่วยสอนวิชาทั่วๆไป และช่วยสอนวิชาที่เกี่ยวกับวิทยาการด้านคอมพิวเตอร์โดยตรง
2. นักเรียน นักศึกษาสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนของครูอาจารย์ต่างสถาบันเนื้อหาสาระที่ห้องสมุดตนเองยังไม่มีรูปภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เช่น การทำงานของเครื่องจักร การศึกษาดูส่วนรายละเอียดของการทำงานของร่างกายเสียงดนตรีเพลงวิธีเล่นกีฬาการทดลองวิทยาศาสตร์ภาพเขียนทางศิลปะวัฒนธรรมสารคดีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนภูมิศาสตร์วิธีการถนอมอาหารการเรียนด้วยตนเอง ผ่านบทเรียนสำเร็จรูป( Self- learning instruction ) การทำอุปกรณ์บางอย่างด้วย ตนเอง ( Self-doing instruction ) การแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในสถาบันเดียวกันแต่คนละห้องหรือต่างสถาบันฯลฯ(เรื่องดังกล่าว นักเรียนนักศึกษาไทยบางสถาบัน
สามารถทำได้แล้วแต่ส่วนใหญ่ยังทำมิได้ เนื่องจากยังขาดเครื่องมืออุปกรณ์และเครือข่าย)
3. ข้อมูลการบริหารการจัดการสามารถติดตามถ่ายโอนและแลกเปลี่ยนได้ทะเบียประวัตินักเรียนการเลือกเรียนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการแนะแนวการศึกษาและอาชีพข้อมูลผู้ปกครองด้านอาชีพรายได้ต่อปี การย้ายถิ่นที่อยู่ข้อมูลครูอาจารย์เงินเดือนคุณวุฒิการอบรมฝึกฝนความรู้ความสามารถพิเศษเป็นต้นข้อมูลดังกล่าวพร้อมภาพของนักเรียนอาจารย์จะช่วยให้อาจารย์ประจำชั้นประจำวิชาฝ่ายบริหารได้ติดตาม แลกเปลี่ยนถ่ายโอนตามความจำเป็นเพื่อดูแลให้นักเรียนอาจารย์สามารถพัฒนาตนเองได้สูงสุดตามศักยภาพของแต่ละคน ข้อมูลดังกล่าวรวมถึงเด็กผู้มีพรสวรรค์เก่งเป็นเลิศหรือเด็กและเยาวชนที่ยัง ต้องการความช่วยเหลือเนื่องจากพิการทางร่างกายและ/หรือจิตใจซึ่งต้องการการ ชดเชยในบางเรื่องบางส่วน เพื่อให้สามารถช่วยตนเองและครอบครัวได้ตามศักยภาพของตนระบบข้อมูลเช่นนี้เรียกกันว่าข้อมูลการบริหารการจัดการ( MIS )
4. การเล่นเกมเพื่อลับสมองและฝึกความคิดกับการทำงานของมือในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีเกมเล่นทุกระดับ ซึ่งส่วนหนึ่งของเกมดังกล่าวจะเปิดให้เล่นโดยไม่คิดมูลค่ซึ่งนักเรียน นักศึกษาทุกระดับอาจขอเข้าลองศึกษาวิธีการและลองเล่นกับเพื่อนร่วมชั้นหรือเล่นกับผู้อยู่ต่างสถาบันได้โดยสะดวกแต่อย่างไรก็ตามการเล่นเกมควรมีข้อน่าพิจารณาว่าเล่นเพื่อฝึกสมองหรือคลายความเครียดนั้นจะเป็นประโยชน์มากกว่าทุ่มเท เสียเวลา( และค่าใช้จ่ายที่อาจมี) เพื่อจะเอาชนะการเล่นในเกมแต่เพียงอย่างเดียว
ที่มา : http://www.moe.go.th



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น